ภาพจากwww.andamandiscoveries.com/

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โฟเลท ...มีมากในผัก-ผลไม้

โฟเลท ...มีมากในผัก-ผลไม้

หลายคนอาจจะได้ยินคำว่า”โฟเลท”มาจากโฆษณาแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขบอกว่า ...ในผักผลไม้มีวิตามินชนิดหนึ่งคือ โฟเลท มีความสำคัญในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายให้เจริญเติบโต รวมทั้งระบบสืบพันธุ์ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว หากขาดสารโฟเลทจะทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์หยุดชะงัก โดยเฉพาะเซลล์ที่เติบโตเร็ว เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงในไขกระดูก ทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (Macrocytic anaemia) อีกทั้งยังทำให้เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกของสมองและไขสันหลังมีรูปร่างผิดปกติ เสี่ยงเกิดโรคหลอดประสาทพิการ ปากแหว่งเพดานโหว่ในทารกแรกเกิด ทางการแพทย์ได้ค้นพบว่าหญิงที่ขาดวิตามินโฟเลทในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มีโอกาสทำให้เกิดการแท้งหรือการสร้างส่วนประสาทของลูกผิดปรกติได้ เนื้อประสาทของลูกอาจจะยื่นออกมากลางหลัง ซึ่งอาจทำให้ลูกเสียชีวิตหลังคลอดได้ ฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงต้องการปริมาณโฟเลทสูงกว่าคนปกติ
โครงการการศึกษาปริมาณโฟเลทในอาหารไทย โดย ภัทธิรา ยิ่งเลิศรัตนะกุล กลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ สรุปผลการศึกษา(จากกลุ่มตัวอย่าง)ว่า อาหารที่มีโฟเลทสูงสุดคือ กลุ่มผลไม้และผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือกลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโฟเลทต่ำสุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ อาหารที่ผ่านขบวนการแปรรูปมาแล้ว ให้ค่าปริมาณโฟเลท ลดลงกว่าที่เป็นวัตถุดิบ
มีข้อเสนอแนะจากการวิจัยดังนี้ การรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ปริมาณโฟเลทสูง ควรรับประทานอาหารที่เป็นของสด โดยเฉพาะกลุ่มผลไม้และผัก อาหารที่ต้องผ่านขบวนการปรุงอาหาร ควรเลือกใช้วิธีที่ทำลายโฟเลทให้น้อยที่สุด เช่น การนึ่งที่ความร้อนต่ำ แต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ โฟเลทเป็นสารอาหารที่มีการ สูญเสียได้ง่าย อีกทั้งร่างกายดูดซึมได้น้อย ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณโฟเลทบ่อย ๆ งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลเสียต่อการดูดซึมและเมทาบอลิซึมของโฟเลท
มีข่าวมาฝาก ไลฟ์เซ็นเตอร์จัดกิจกรรมสวยใสสุขภาพดีใน 1 วัน กับกิจกรรมสัมมนาเพื่อสุขภาพ เริ่มตั้งแต่การดูแลโครงสร้างร่างกายให้ดีส่งผลดีต่อทุกระบบในร่างกาย พร้อมเมนูผักจี๊ดจ๊าดโดนใจ อร่อย มีประโยชน์และทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง ไลฟ์ เซ็นเตอร์ ขอเรียนเชิญผู้รักสุขภาพทุกท่านเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรี (จำนวนจำกัด) ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ ณ ห้อง สาทร 1 และ 2 ชั้น 4 อาคารคิวเฮ้าส ลุมพินี เวลา 10.30 -12.00 น. ห้วข้อ ไขรหัสลับปรับโครงสร้างร่างกาย ต้านทานภัยทุกโรค โครงสร้างร่างกายมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอย่างไร และการปรับโครงสร้างร่างกายช่วยป้องกันโรคได้จริงหรือ โดย Ariya Wellness Center เวลา 14.00-15.30 น.หัวข้อ ใครว่าผักไม่อร่อย พบเมนูจี๊ดโดนใจ กับ อาหารที่ทำให้สวยและสุขภาพดีจากภายใน พร้อมเมนูผักที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค พร้อมด้วยเมนู น้ำสลัดเพื่อสุขภาพ
สอบถามรายละเอียดหัวข้อสัมมนา และสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ฟรี ที่โทร 0-2677-7177 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.lifecenterthailand.com.

ขั้นตอนแรกเรียบร้อยแล้ว...

การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติเสร็จสิ้นลงแล้ว แม้ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งประมาณ 50% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ถือว่าเกษตรกรมีการตื่นตัวในระดับหนึ่งกับการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งหลังจากนี้ไปก็อยู่ในขั้นตอนของการเลือกตั้งผู้แทนในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดจนกระทั่งไปสู่การได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ขณะนี้ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกร ได้รายงานผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลการเลือกตั้งทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินรวบรวมผลการเลือกตั้งแล้วเสร็จคิดเป็น 99.19% เนื่องจากยังเหลือในส่วนของพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่มีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา จึงต้องเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป โดยในจำนวนที่เลือกเสร็จนั้นพบว่า จำนวนผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านมีทั้งสิ้น 65,537 คน แบ่งเป็นผู้แทนที่ได้จากการเลือกตั้ง 17,013 คน และผู้แทนที่ได้จากการที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว 48,524 คน จากจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้ง 3 ประเภท ที่มีการประกาศกำหนดเป็นหน่วยเลือกตั้ง จำนวน 76,246 หน่วย ได้แก่ หน่วยเลือกตั้งที่งดดำเนินการเลือกตั้ง เนื่องจากไม่มีผู้สมัคร 10,577 หน่วย คิดเป็น 13.87% หน่วยเลือกตั้งที่งดดำเนินการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้สมัครรายเดียว ซึ่งจะถือว่าผู้สมัครจำนวนดังกล่าวนี้เป็นผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านได้ทันที จำนวน 48,524 หน่วย คิดเป็น 63.64% และหน่วยเลือกตั้งที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง จำนวน 17,145 หน่วย คิดเป็น 22.49%
ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับข้อมูลของเกษตรกรที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้คิดเป็น 52.40% หรือจำนวน 2,854,457 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้ง 5,447,952 คน โดยมีบัตรดี 96.04% บัตรเสีย 3.08 % และบัตรที่งดออกเสียงอีก 0.88% โดยภาคที่มีเกษตรกรออกมาใช้สิทธิมากที่สุด ได้แก่ 1.ภาคเหนือ 57.08% 2.ภาคกลาง 52.35% 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50.70% และ4.ภาคใต้ 45.02%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่มีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 132 หน่วย ใน 20 ตำบล มีผู้สมัครรับคัดเลือกเป็นผู้แทนระดับตำบลรวม 316 คน มีเกษตรกรที่มีสิทธิเลือกตั้งรวม 92,303 ราย ทางกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยแล้วเสร็จก่อนวันที่ 6 มีนาคมนี้
วันที่ 28 ก.พ.2554 กระทรวงเกษตรฯ จะประกาศรายชื่อผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 65,537 คน ยกเว้น อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่จะประกาศผลภายวันที่ 21 มีนาคม 2554 ซึ่งหากเกษตรกรเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวไม่เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม สามารถยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งจะทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง พร้อมทั้งเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน หากเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยทุจริต ไม่เที่ยงธรรม หรือไม่ถูกต้องจริง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรายงานผลการไต่สวนต่อเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อพิจารณาวินิจฉัย และแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 30วัน โดยคำวินิจฉัยดังกล่าวสามารถอุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ภายใน 15 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรให้มากที่สุด
หลังจากนี้ ขั้นตอนต่อไปที่กระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการนั้น คือ การเตรียมการจัดการเลือกตั้งผู้แทนระดับตำบลจำนวน 7,103 ตำบล ในระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2554 เพื่อให้ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านในแต่ละตำบลเลือกตั้งกันเองให้ได้ผู้แทนเกษตรกรระดับตำบลๆ ละ 1 คน และจะมีการประกาศรายชื่อผู้แทนเกษตรกรระดับตำบลที่ได้รับการเลือกตั้งในวันที่ 11 เมษายน 2554 ต่อไป เมื่อได้ผู้แทนระดับตำบลก็จะมีการคัดเลือกผู้แทนระดับอำเภอ จังหวัด จนกระทั่งมีการคัดเลือกผู้แทนจากองค์กรและผู้คุณวุฒิด้านเกษตร รวมทั้งสิ้น 99 คน ก็จะครบองค์ประกอบของการเป็นสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งก็คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนจึงจะเห็นเป็นรูปธรรม แต่หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยวงการเกษตรไทยคงจะมีสิ่งดีๆ ตามมาอย่างที่ทุกคนหวังไว้.

ขั้นตอนแรกเรียบร้อยแล้ว...

การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติเสร็จสิ้นลงแล้ว แม้ว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งประมาณ 50% ของผู้มีสิทธิทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ถือว่าเกษตรกรมีการตื่นตัวในระดับหนึ่งกับการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งหลังจากนี้ไปก็อยู่ในขั้นตอนของการเลือกตั้งผู้แทนในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดจนกระทั่งไปสู่การได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ขณะนี้ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกร ได้รายงานผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลการเลือกตั้งทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินรวบรวมผลการเลือกตั้งแล้วเสร็จคิดเป็น 99.19% เนื่องจากยังเหลือในส่วนของพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่มีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา จึงต้องเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป โดยในจำนวนที่เลือกเสร็จนั้นพบว่า จำนวนผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านมีทั้งสิ้น 65,537 คน แบ่งเป็นผู้แทนที่ได้จากการเลือกตั้ง 17,013 คน และผู้แทนที่ได้จากการที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว 48,524 คน จากจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้ง 3 ประเภท ที่มีการประกาศกำหนดเป็นหน่วยเลือกตั้ง จำนวน 76,246 หน่วย ได้แก่ หน่วยเลือกตั้งที่งดดำเนินการเลือกตั้ง เนื่องจากไม่มีผู้สมัคร 10,577 หน่วย คิดเป็น 13.87% หน่วยเลือกตั้งที่งดดำเนินการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้สมัครรายเดียว ซึ่งจะถือว่าผู้สมัครจำนวนดังกล่าวนี้เป็นผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านได้ทันที จำนวน 48,524 หน่วย คิดเป็น 63.64% และหน่วยเลือกตั้งที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง จำนวน 17,145 หน่วย คิดเป็น 22.49%
ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สำหรับข้อมูลของเกษตรกรที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้คิดเป็น 52.40% หรือจำนวน 2,854,457 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้ง 5,447,952 คน โดยมีบัตรดี 96.04% บัตรเสีย 3.08 % และบัตรที่งดออกเสียงอีก 0.88% โดยภาคที่มีเกษตรกรออกมาใช้สิทธิมากที่สุด ได้แก่ 1.ภาคเหนือ 57.08% 2.ภาคกลาง 52.35% 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50.70% และ4.ภาคใต้ 45.02%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่มีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 132 หน่วย ใน 20 ตำบล มีผู้สมัครรับคัดเลือกเป็นผู้แทนระดับตำบลรวม 316 คน มีเกษตรกรที่มีสิทธิเลือกตั้งรวม 92,303 ราย ทางกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยแล้วเสร็จก่อนวันที่ 6 มีนาคมนี้
วันที่ 28 ก.พ.2554 กระทรวงเกษตรฯ จะประกาศรายชื่อผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 65,537 คน ยกเว้น อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ที่จะประกาศผลภายวันที่ 21 มีนาคม 2554 ซึ่งหากเกษตรกรเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวไม่เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม สามารถยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งจะทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง พร้อมทั้งเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน หากเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยทุจริต ไม่เที่ยงธรรม หรือไม่ถูกต้องจริง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรายงานผลการไต่สวนต่อเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เพื่อพิจารณาวินิจฉัย และแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 30วัน โดยคำวินิจฉัยดังกล่าวสามารถอุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ภายใน 15 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรให้มากที่สุด
หลังจากนี้ ขั้นตอนต่อไปที่กระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการนั้น คือ การเตรียมการจัดการเลือกตั้งผู้แทนระดับตำบลจำนวน 7,103 ตำบล ในระหว่างวันที่ 28 – 30 มีนาคม 2554 เพื่อให้ผู้แทนเกษตรกรระดับหมู่บ้านในแต่ละตำบลเลือกตั้งกันเองให้ได้ผู้แทนเกษตรกรระดับตำบลๆ ละ 1 คน และจะมีการประกาศรายชื่อผู้แทนเกษตรกรระดับตำบลที่ได้รับการเลือกตั้งในวันที่ 11 เมษายน 2554 ต่อไป เมื่อได้ผู้แทนระดับตำบลก็จะมีการคัดเลือกผู้แทนระดับอำเภอ จังหวัด จนกระทั่งมีการคัดเลือกผู้แทนจากองค์กรและผู้คุณวุฒิด้านเกษตร รวมทั้งสิ้น 99 คน ก็จะครบองค์ประกอบของการเป็นสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งก็คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนจึงจะเห็นเป็นรูปธรรม แต่หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยวงการเกษตรไทยคงจะมีสิ่งดีๆ ตามมาอย่างที่ทุกคนหวังไว้.

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เกษตรอินทรีย์...มีรายได้ตลอดปี


“แต่ก่อนไม่รู้เป็นอะไรเจ็บป่วยบ่อยมาก พอไปตรวจเลือดจึงได้รู้ว่ามีสารพิษปนเปื้อนอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมาก นี่คงเป็นผลพวงของการทำเกษตรโดยใช้สารเคมีมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ ร่างกายก็แข็งแรงขึ้น ต้นทุนในการผลิตลดลง เงินเก็บก็เยอะขึ้นด้วย” ลุงสว่าง อินต๊ะ หมอดินอาสาของสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ บ้านท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เล่าให้ฟัง
ลุงสว่าง เคยทำเกษตรเคมีมาก่อน แต่พอหลังจากได้ไปอบรมและศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการตรวจสุขภาพโดยการตรวจเลือด และพบสารพิษในร่างกายขั้นอันตราย จากนั้นจึงได้กลับมาทบทวนดูว่าคงทำเกษตรเคมีต่อไปไม่ได้แล้ว จึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ด้วยการหันกลับทำเกษตรอินทรีย์แทน โดยเริ่มจากการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ประกอบกับที่ตนเป็นหมอดินอาสา ของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสไปศึกษาอบรมในเรื่องของการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร การลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งได้รับปัจจัยการผลิตที่กรมพัฒนาที่ดินหยิบยื่นให้ เช่น สารเร่งจุลินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ แล้วค่อยๆลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงเรื่อยๆ
ในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรในช่วงแรกนั้นจะค่อยๆ ลดปริมาณการใช้ลง เช่น เมื่อก่อนใช้ปุ๋ยเคมี 5 กระสอบต่อ 1 ไร่ ก็ลดปริมาณการใช้ลงเหลือ 2 กระสอบต่อ 1 ไร่ แต่จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกลงไปแทน จากนั้นจึงลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเรื่อยมา จนปัจจุบันนี้แทบไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลยหากไม่จำเป็น
ปัจจุบันลุงสว่างปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพรเป็นหลัก เช่น โหระพา กระเพรา แมงลัก และใบยี่หร่า มีพื้นที่ในการปลูก 2 ไร่ มีรายได้จากการเก็บพืชผักสวนครัวเหล่านี้ขายวันละ 300-500 บาท และสามารถเก็บขายได้ทุกวันตลอดทั้งปี ทำให้มีเงินเหลือเก็บประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อปี
นอกจากนี้ สวนของลุงสว่างยังเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีเกษตรกรในท้องถิ่นมาดูงานปีละไม่ต่ำว่า 800-900 คน โดยเกษตรกรที่มาอบรมจะได้เรียนถึงรู้วิถีชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง การลดต้นทุนการผลิต การลดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการทำเกษตรเข้าสูเกษตรอินทรีย์ด้วย
“ปัจจุบันตั้งแต่หันมาทำเกษตรอินทรีย์ ในด้านสุขภาพไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยเหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญสุขภาพจิตก็ดีขึ้นด้วย ส่วนในด้านของต้นทุนการผลิตนั้น เมื่อก่อนตอนปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร พอเก็บผลผลิตแล้วก็ต้องไถทิ้ง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างรถมาไถประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมาก แต่เมื่อหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ได้ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยชีวภาพใช้เองโดยนำเศษวัสดุเหลือจากการทำเกษตรมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มากถึง 60%” นายสว่าง กล่าวย้ำ
สุดท้ายนี้ก่อนจาก ลุงสว่าง ยังได้ฝากคำแนะนำดีๆ มายังเพื่อเกษตรกรมาด้วยว่า การทำเกษตรเคมีทำให้มีรายจ่ายสูง หากเกษตรกรรายใดยังทำอยู่ ถ้าสามารถลดละเลิกได้ก็ควรทำ หันมาเข้าสู่วิถีเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกดีกว่า นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากแล้ว ยังทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งพิสูจน์มาแล้วกับตัวเอง
หากเกษตรกรรายใดสนใจวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ที่สามารถสร้างทั้งสุขภาพที่ดีและรายได้ตลอดทั้งปีอย่างลุงสว่าง อินต๊ะ สามารถสอบถามเพิ่มเติมไปได้ที่ 089-6345361 รับรองว่าจะได้ข้อมูลอย่างไม่มีกั๊กแน่นอน.

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เกษตรฯเป็นเจ้าภาพจัดประชุม “ไตรภาคียางพารา” 3 ประเทศ

เกษตรฯเป็นเจ้าภาพจัดประชุม “ไตรภาคียางพารา” 3 ประเทศ ร่วมเกาะติดสถานการณ์ราคายาง ไทยเตรียมเสนอการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคา มุ่งสร้างความเข้มแข็ง ดีเดย์ 3-7 ส.ค.นี้ ที่ จ.ภูเก็ต

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 3-7 สิงหาคม 2553 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภาความร่วมมือยางพารา 3 ประเทศ(International Rubber Tripartite Council หรือ ITRC) ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานในมาตรการบริหารจัดการการผลิต และการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันยังมีการประเมินสถานการณ์ราคายางพาราทั้งภายในและต่างประเทศ โดยผู้แทนจากทั้ง 3 ประเทศจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านพื้นที่ปลูก ปริมาณผลผลิต การตลาดและการส่งออก เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางรักษาระดับราคายางให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เตรียมเสนอให้มาเลเซียและอินโดนีเซียพิจารณาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้การผลิตและการตลาดยางพารา เพื่อให้ราคายางสูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย อีกทั้งยังจะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาแนวทางการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายางให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่เกษตรกร และช่วยลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวอีกว่า ไทยยังจะเสนอให้ประเทศไตรภาคียางพารา 3 ประเทศ จัดตั้งตลาดซื้อขายยางแบบส่งมอบยางจริง โดยใช้โมเดลของไทยที่มีการซื้อขายยางแบบข้อตกลงล่วงหน้า(Physical Forward contract) ที่ทดลองดำเนินการโดย สำนักตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นต้นแบบ ซึ่งวิธีการนี้สะท้อนให้เห็นราคาที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลาล่วงหน้า ทั้งยังช่วยประกันความเสี่ยงด้านการผันผวนของราคายางพาราได้ หากทั้ง 3 ประเทศร่วมกันพัฒนาตลาดนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น อนาคตคาดว่าจะสามารถใช้เป็นราคาอ้างอิงในตลาดโลกได้

“นอกจากนั้นไทยยังจะเสนอให้ประเทศไตรภาคียางพารา เร่งผลักดันแนวทางการขายคาร์บอนเครดิต(Carbon Credit)เข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้อุตสาหกรรมนอกภูมิภาคอาเซียนที่จะมาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากเกษตรกร เนื่องจากสวนยางเป็นป่าปลูกที่สามารถดูดซับคาร์บอนได้ถึง 42 ตันต่อไร่และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ ดังนั้น เกษตรกรชาวสวนยางจึงควรขายคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้น” รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว/////////////////////////////